อยากเป็น Full-Stack Web Developer เริ่มต้นเรียนที่นี่ครับ

1. คอร์สเรียนพื้นฐาน และภาพรวมสำหรับการเป็น Web Developer
http://goo.gl/oDFrIW

2. คอร์สเรียน PHP AJAX เรียนรู้การเขียน jQuery โดยใช้เทคนิค AJAX ร่วมกับ PHP
http://goo.gl/Xyci6q

3. คอร์สเรียน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย PHP (PHP OOP)
http://goo.gl/AoKllp

4. คอร์สเรียน Yii Framework 2 พื้นฐาน
http://goo.gl/4BY8fA

5. คอร์สเรียน Yii Framework 2 ฐานข้อมูล และการทำรายงาน
http://goo.gl/tAw1mk

6. e-Book “Yii 2: Database and Report” ฉบับภาษาไทย
http://goo.gl/WKgtJw

———-
7. คอร์สเรียน Laravel 5.2
http://goo.gl/jkkcGS

8. e-Book Laravel 5.2 ฉบับภาษาไทย
http://goo.gl/DbGSpf

———-
9. พื้นฐาน JavaScript ES6/ES2015 เพื่อต่อยอด Node.js, Angular 2 หรือ Ionic 2
http://goo.gl/0Qp4VB

10. สร้าง Mobile App ด้วย Ionic Framework 2
http://goo.gl/aA4Bk2

11. e-Book สร้าง Mobile App ด้วย Ionic Framework 2 (ฉบับภาษาไทย)
http://goo.gl/Bm1kJ3

———-

คอร์สพิเศษ Visual Basic.NET Programming
http://goo.gl/zXKOja

สำหรับคนที่สนใจสามารถดูรายละเอียด ลงทะเบียนได้ในลิงก์ของแต่ละคอร์สได้เลยครับ อย่าลืมเรียนเรียงตามลำดับด้วยนะครับ เพราะพื้นฐานสำคัญมันสำคัญสุดๆ 🙂

คอร์สเรียนฟรี เราก็มี ดูได้ที่นี่
https://goo.gl/fFlmaE

การเขียน Angular 2 เชื่อมต่อกับ Facebook

สำหรับคนที่กำลังศึกษา Ionic 2 หรือ Angular 2 อยู่ อยากทำระบบล็อกอิน Facebook หรือเชื่อมต่อ Facebook ลองตัวนี้ได้ครับ ใช้ง่ายทีเดียว โค้ดสั้นมาก

 

รายละเอียด: http://goo.gl/zRv9b3

สรุปการเขียน Classes ใน TypeScript

tscript
มาลองดูรูปแบบการเขียน Classes ใน TypeScript กัน จริงๆ แล้วรูปแบบและแนวทางการเขียนก็เขียนเหมือนกันกับ JS ES6 นั่นเองครับ

การสร้าง class เราจะใช้คีย์เวิร์ด class ตามด้วยชื่อคลาส ดังนี้

class Book {
}

คลาสประกอบด้วย properties, methods และ consturctors

1. การเขียน Properties

class Person {
firstName: string;
lastName: string;
age: number;
}

2. การเขียน Methods

class Person {
firstName: string;
lastName: string;
age: number;
//method
greet() {
console.log(“Hello”, this.firstName);
}
}

3. ตัวอย่างการใช้งานคลาส Person

// ประกาศตัวแปร มี type เป็น Person
let p: Person;
//สร้าง instance ใหม่
p = new Person();
//กำหนดค่าให้กับ first_name
p.firstName= ‘Akenarin’;
//เรียกใช้ method ชื่อว่า greet()
p.greet();
Note: เราสามารถสร้าง instance ใหม่ได้ด้วยบรรทัดเดียว ดังนี้
let p: Person = new Person();

4. การเขียน Constructors

constructor เป็น method พิเศษที่จะทำงานเมื่อมีการสร้าง instance ใหม่ โดยทั่วไปเรามักใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ object ครับ

ตัวอย่างการเขียน constructor แบบที่ 1

class Person {
firstName: string;
lastName: string;
age: number;
constructor(firstName: string, lastName: string, age: number) {
this.firstName= firstName;
this.lastName= lastName;
this.age = age;
}
greet() {
console.log(“Hello”, this.firstName);
}
}

ตัวอย่างการเขียน constructor แบบที่ 2 [เพิ่มเติมจาก @ Tan Tanangular ]

แบบที่ 2 นี้เราสามารถละไม่เขียน properties ได้โดยให้ระบุ access modifier เข้าไป เช่น private, public เป็นต้น ตัวอย่าง
class Person {
//ตรงนี้ไม่ต้องเขียน properties
constructor(public firstName: string, public lastName: string, public age: number) {
//ตรงนี้สามารถละ ไม่เขียนได้ //this.firstName= firstName;
//this.lastName= lastName;
//this.age = age;
}
} จากโค้ดด้านบนจะถูก compile เป็น ดังนี้
var Person = (function () {
function Person(firstName, lastName,age) {
this.firstName = firstName;
this.lastName = lastName;
this.age = age;
}
return Person;
}());

ด้านซ้ายเป็น .ts ส่วนด้านขวาหลัง compile เป็น .js

การใช้ constructor

let p: Person = new Person(‘Akenarin’, ‘Komkoon’, 20);
p.greet();
ถ้าใครมีพื้นฐานการเขียน JAVA, C#, PHP OOP มา รับรองว่าทำความเข้าใจ TypeScript ได้ไม่ยากครับ ลองดูๆ 🙂

การประกาศตัวแปร และชนิดข้อมูลของ TypeScript

tscript

สำหรับคนที่เตรียมตัวศึกษา Angular 2 คงหนีไม่พ้นต้องศึกษา TypeScript ด้วย มาดูตัวอย่างการประกาศตัวแปร และชนิดข้อมูลของ TypeScript ง่ายๆกันครับ (Built-in types)

รูปแบบ

let ชื่อตัวแปร: ชนิดข้อมูล;

– String

var name: string = ‘CodingThailand’;

– Number

let age: number = 20;

– Boolean

let married: boolean = true;

– Array

let jobs: Array<string> = [‘IBM’, ‘Microsoft’, ‘Google’];
let jobs: string[] = [‘Apple’, ‘Dell’, ‘HP’];
หรือ
let jobs: Array<number> = [1, 2, 3];
let jobs: number[] = [4, 6, 8];

Enums

enum Role {Employee, Manager, Admin};
let role: Role = Role.Employee;

Any (เป็น default type เก็บอะไรก็ได้)

let thing: any = ‘Akenarin Komkoon’;
thing = 1;
thing = [1, 2, 3];

Void (ใช้สำหรับฟังก์ชันที่ไม่มีการคืนค่ากลับ)

function setTitle(name: string): void {
this.name = name;
}

ไอคอนแบบ Material Design แนะนำเว็บนี้

ใครที่ทำเว็บอยู่ อยากได้ไอคอนแบบ Material Design แนะนำเว็บนี้ครับ ไอคอนสวยๆเยอะเลย 🙂

รายละเอียด: https://goo.gl/R9QpiZ

ใช้ร่วมกับ Bootstrap ก็ได้ครับ ลองดูที่นี่

https://goo.gl/NWa5Uj

หรือจะใช้ของ google ก็มีด้วยตามนี้ครับ
https://goo.gl/VALOrW

แนะนำ Chartist.js ใช้กับ Angular 2 และ Ionic 2

สำหรับคนที่กำลังมองหา Chart เพื่อนำมาทำรายงาน ลองใช้ตัวนี้ได้ครับ จริงๆก็ใช้ได้ทั้งฝั่ง JS/Node.js และ PHP แต่ตัวนี้จะพิเศษหน่อย สำหรับคนที่กำลังศึกษา Angular 2 หรือ Ionic 2 อยู่ สามารถติดตั้งแล้ว import เข้ามาใช้ในโปรเจคได้เลย สะดวกมากๆ ลองๆ

เว็บไซต์หลัก:

http://goo.gl/z6ge5C

สำหรับ Angular 2 และ Ionic 2:
https://goo.gl/By5xi1

แนะนำ 6 เว็บไซต์ ไว้เขียนส่งอีเมล สำหรับ Web Developer ครับ

สำหรับคนที่มีปัญหาเขียน PHP แล้วส่งเมลได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือส่งเมลไปแล้วไม่เข้า inbox ผมแนะนำให้ใช้บริการ SMTP Service ดีกว่าครั

ใครอยากใช้อันไหนก็ลองดูได้เลยครับ ที่สำคัญทุกเจ้าที่แนะนำมีบริการฟรีด้วย งั้นแนะนำแบบฟรีมากไปหาฟรีน้อยแล้วกันนะ 55+

1. ElasticEmail ฟรี 25,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://elasticemail.com/
คู่มือ PHP : https://goo.gl/Z4zUwl

2. Postmark ฟรี 25,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://postmarkapp.com/
คู่มือ PHP: http://goo.gl/GG1Fki

3. SendGrid ฟรี 12,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://sendgrid.com
คู่มือ PHP: https://goo.gl/sznb8g

4. MailGun ฟรี 10,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://www.mailgun.com
คู่มือ PHP : https://goo.gl/Q0M8z0

5. SendInBlue ฟรี 9,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://www.sendinblue.com/
คู่มือ PHP: https://goo.gl/usctco

6. MailJet ฟรี 6,000 ฉบับ/เดือน
เว็บไซต์: https://www.mailjet.com/
คู่มือ PHP: http://goo.gl/RnKqRA

ขอให้สนุกกับการเขียนส่งเมลนะครับ

ฝั่ง .NET ออก .NET Core 1.0 release เรียบร้อยแล้วครับ

netcore

ฝั่ง .NET ออก .NET Core 1.0 release เรียบร้อยแล้วครับ รองรับ C#, VB และ F# ประกอบด้วย .NET Core runtime libraries ต่างๆ พร้อมเครื่องมือ และยังมี ASP.NET Core libraries (ทำ web app) ด้วยครับ

จุดขาย มีดังนี้
– เป็น Cross-platform รันได้ทั้ง Windows, macOS และ Linux
– มีความยืดหยุ่นมากในการ deploy app
– มี Command-line tools ช่วยให้เขียนโค้ด สร้าง app ได้ง่ายขึ้น
– มีความเข้ากันได้กับ .NET Framework, Xamarin และ Mono ผ่าน .NET Standard Library
– เป็น Open source: ใช้ MIT และ Apache 2 licenses
– สนับสนุน โดย Microsoft

สำหรับมือใหม่ อยากฝึกเขียน ให้เรียงลำดับการติดตั้ง ดังนี้

1. Visual Studio 2015 แนะนำ Visual Studio Community (ฟรี)
http://goo.gl/WikArB

2. ติดตั้ง Visual Studio Update 3
https://goo.gl/bG2Ng2

3. ติดตั้ง .NET Core Tools for Visual Studio
https://goo.gl/x6IuNL
เว็บไซต์หลัก และคู่มือต่างๆ ดูได้ที่ : https://dotnet.github.io/

แค่นี้ก็พร้อมศึกษาแล้วครับ ปกติผมชอบเขียน .NET มาก ถ้ามีโอกาสคงได้เห็นวิดีโอสอนออกมา

การที่ผมจบ ม.ราชภัฏฯ มันไม่มีแว่บไหนเลยที่ผมจะคิดน้อยใจ

การที่ผมจบ ม.ราชภัฏฯ มันไม่มีแว่บไหนเลยที่ผมจะคิดน้อยใจที่จบจากที่นี่

ไม่รู้สิ อาจเป็นเพราะช่วงนั้นคิดอย่างเดียวว่าขอให้มีที่เรียนแล้วกัน สถาบันไม่ได้เป็นอะไรทีสำคัญอะไรกับผมมากนัก แต่เงินที่มาจ่ายค่าเทอมตอนนั้นสำคัญที่สุด 55+

ก็ไม่แปลกนัก ที่ผมต้องทำงานไม่ว่าจะเป็นเด็กเสิร์ฟ เด็กยกกระเป๋าโรงแรม หรือแม้ในแต่คนงานในโรงพยาบาล

ผมเริ่มชอบคอมฯ เมื่อไร่มานั่งนึกย้อนกลับไป อาจเป็นตอนที่อยู่ปี 3 ที่ลองเขียนโค้ดครั้งแรกเพื่อทำโปรเจคจบ (ตอนนั้นเขียน Object Pascal – Delphi 7)

อ้าวววว ยิ่งเขียน ยิ่งสนุก ยิ่งเขียนยิ่งชอบ เหมือนชีวิตได้ไปต่อ 55+ หมกมุ่นสุดๆ ทำจนโปรเจคสำเร็จจนได้

ย้อนกลับตอนอยู่ปี 2 บอกเลย โคตรไม่ตั้งใจเรียน 55+ ด้วยความที่ผมเรียนหลักสูตรเสาร์อาทิตย์ มีแต่เพื่อนรุ่นพี่ ก็ไม่แปลกใจนัก ที่จะพากันเที่ยวเยอะเป็นพิเศษ 55++

แต่นั่นอาจทำให้ผมได้วิชา “ชีวิต” เยอะ พอๆวิชา “ความรู้”

อืม แต่ผมคงบอกไม่ได้หรอกว่าทุกคนจะถึงจุดที่อยากเป็นตอนไหน แต่ถ้าเจอสิ่งที่ชอบ เจอสิ่งที่ช่วยเลี้ยงชีวิต และครอบครัวเราได้ ก็อย่าหยุดเดิน อย่าหยุดเรียนรู้แล้วกันนะครับ

แด่ทุกท่านที่ยังคงใฝ่ดีกับชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้

แนะนำขั้นตอนการเรียนรู้ JavaScript Framework สมัยใหม่

ถ้าอยากศึกษา JavaScript framework สมัยใหม่ แน่นอนเราต้องเรียนรู้ JavaScript สมัยใหม่ด้วยครับ ปัจจุบัน JavaScript ได้เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เข้ามามากมายเลย

ถ้าให้ผมแนะนำ ขอแนะนำ ดังนี้

1. ศึกษา JavaScript พื้นฐานก่อนครับ ไม่ว่าเป็นเรื่องง่ายๆอย่าง ตัวแปร (variable) , Arrays, Objects, Functions และอื่นๆ ผมทำสอนไว้บ้างตามนี้ http://goo.gl/vXT9bC

2. จากนั้นต่อด้วย JavaScript ES6 ครับ ดูหัวข้อคร่าวๆได้ในภาพ (ตรงนี้อนาคตก็คงมี ES7 ,ES8 แต่ก็ไม่ต้องห่วงครับ ถ้าเรามีพื้นฐาน ES6 อยู่แล้ว ก็ให้ศึกษาคุณสมบัติที่มันเพิ่มเติมเข้ามา)

ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการศึกษา Angular 2 ซึ่งเขียนด้วย TypeScript (จริงๆเขียนด้วย ES6 ก็ได้) เราก็ศึกษาเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย เพราะเราสามารถนำความรู้จาก JavaScript ES6 มาใช้ได้เลย (TypeScript เองเป็น superset ของ JS อยู่แล้ว

ส่วน JavaScript Framework อื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ TypeScript แน่นอนก็สามารถนำความรู้ JavaScript ES6 มาใช้ได้เลย 🙂

อย่าลืมครับ “การข้ามความรู้พื้นฐาน มักสร้างความยุ่งยากตามมาเสมอ และจะยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ถ้าข้ามความรู้พื้นฐาน JavaScript 55+ ” มาลุยกัน!