การเปลี่ยน port MySQL/MariaDB จาก 3306 เป็น port อื่น (XAMPP)

ถ้าใครใช้ XAMPP ในการจำลอง Server ถ้า Start MySQL แล้วมีปัญหา อาจเป็นไปได้ว่ามีการชนกันของ port ครับ หรือเราอยากทดลองใช้ MySQL เวอร์ชันใหม่ๆ แต่ไม่อยากลบ MySQL ตัวที่กำลังใช้งานอยู่ บทความนี้จะพาเราไปทำความรู้จักกับการเปลี่ยนหมายเลข port ของ MySQL กัน ลุยกันเลย!

 

1.ดับเบิ้ลคลิก XAMPP Control Panel ขึ้นมา จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Config (ของ MySQL) เลือกไฟล์ my.ini ครับ

2.เมื่อเปิดไฟล์ my.ini ขึ้นมาแล้วแก้ไขหมายเลข port ให้เป็นหมายเลขที่เราต้องการ (2จุด) จากนั้นให้บันทึกไฟล์นี้ แล้วปิดไปได้เลย

3.คลิกที่ปุ่ม Config (ของ Apache) เลือกเปิดไฟล์ php.ini ขึ้นมาเพื่อแก้ไขครับ

4.ให้ค้นหาคำว่า mysql.default_port ครับเมื่อเจอแล้ว ให้แก้หมายเลขจาก 3306 เป็นหมายเลข port ที่เราต้องการ และค้นหาคำว่า mysqli.default_port (มี i ต่อท้ายด้วยนะ) ให้แก้หมายเลขเป็นหมายเลข port ที่เราต้องการเช่นกัน จากนั้นให้บันทึกไฟล์แล้วปิดไปได้เลย

หมายเหตุ ในรูปมีเฉพาะ mysql.default_port นะครับ เลื่อนลงมานิดหน่อยจะเจอ mysqli.default_port

5.กดปุ่ม Start ทั้งในส่วนของ Apache และ MySQL ให้สังเกตหมายเลข port MySQL ครับว่าเปลี่ยนไปตามหมายเลขที่เราต้องการหรือเปล่า ถ้าทำครบทุกขั้นตอนก็จะเห็นว่าหมายเลข port ได้เปลี่ยนแล้ว

แต่เดี๋ยวก่อน เวลาเขียน PHP อย่าลืมใส่หมายเลข port ใหม่ในขั้นตอนการ connect ด้วยนะครับ โค้ดตามนี้เลย

//สำหรับ MySQLi connection เขียนแบบ procedural

//สำหรับ MySQLi เขียนแบบ object-oriented

แค่นี้ก็เรียบร้อย!

แนะนำใช้งาน XAMPP แบบ portable

คิดว่าหลายคนที่เขียน PHP มา คงใช้ XAMPP กันเป็นประจำอยู่แล้วครับ แต่ปัญหาคือ XAMPP 5.6.11 เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เรียกว่า dashboard กันใหม่ทั้งหมด ทำให้มือใหม่หลายคนปวดหัว และงงกับการใช้งาน วันนี้เลยมาแนะนำวิธีการใช้งานกัน ดังนี้ครับ

1. ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่

http://sourceforge.net/projects/xampp/files/XAMPP%20Windows/5.6.11/xampp-portable-win32-5.6.11-1-VC11.zip/download

หากมี version ใหม่กว่านี้ก็เปลี่ยนได้ แนะนำให้เลือกแบบ xampp-portable ครับ เพราะเวลาย้ายเครื่องสามารถ copy โฟลเดอร์ xampp ไปได้เลย

2. เมื่อได้ไฟล์ในรูปแบบ .zip มาแล้วให้ extract ไฟล์ไว้ที่ไหนก็ได้ตามต้องการเช่น วางไว้ที่ Drive C:\xampp ในโฟลเดอร์ xampp นี้จะมีไอคอนสีส้มชื่อว่า xampp-control ให้ดับเบิ้ลคลิกขึ้นมาได้เลยครับ จะมีหน้าต่างให้เลือกภาษา แนะนำให้กดปุ่ม Save ได้เลยครับ

 

3. จากนั้นจะกดปุ่ม Start ในส่วนของ Apache และ MySQL ถ้าไม่มีปัญหาอะไรจะขึ้นแถวสีเขียวครับ

 

4. กำหนดรหัสผ่านให้กับ MySQL มีขั้นตอนดังนี้

4.1 เปิด XAMPP control panel ขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม Shell ทางด้านขวา แล้วกดปุ่ม Yes อีกครั้งหนึ่ง จะได้โปรแกรมในรูปแบบ command line (หน้าจอดำๆ) ขึ้นมา
4.2 พิมพ์คำสั่งลงไปตามนี้

แล้วกด Enter **(123456 คือรหัสผ่านที่เราต้องการตั้ง)**

4.3 จากนั้นให้เปิดไฟล์ ชื่อว่า config.inc.php ในโฟลเดอร์ phpMyAdmin ตามนี้ C:\xampp\phpMyAdmin
4.4 มองหาบรรทัดที่ 19 และ 21 โดยเปลี่ยน

เป็น

แล้วให้ใส่รหัสผ่านที่ได้ตั้งไว้ในข้อ 4.2 ในบรรทัด

แก้เป็น

(ย้ำอีกครั้ง 123456 คือรหัสผ่านที่ได้ตั้งไว้ในข้อ 4.2) ดังนี้

เสร็จแล้ว อย่าลืม!!! กดบันทึกหรือ save ไฟล์นี้ ด้วยครับ

 

5. ทดสอบโดยเปิด browser แล้วพิมพ์ http://localhost/phpmyadmin/ จะขึ้นหน้าล็อกอิน ก็ลองกรอก username เป็น root และ password ตามข้อที่ 4.2 ได้เลยครับ แค่นี้ก็เรียบร้อย

 

ขอให้สนุกกับเรียนรู้ครับ

3 ขั้นตอน ง่ายๆ config XAMPP ให้สามารถเข้าถึงจากเครื่องอื่นได้

1. เปิดไฟล์ http-xampp.conf ขึ้นมาโดยเข้าไปที่ C:\xampp\apache\conf\extra ครับ

2. เมื่อเปิดไฟล์แล้ว เลื่อนลงมาล่างสุด ในส่วนของ LocationMatch เลือกตั้งค่าได้ดังนี้

2.1 ถ้าอยากให้เข้าถึงได้จากทุกเครื่องให้ config ดังนี้

2.2 แต่ถ้าอยากให้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะบางไอพี หรือเครื่อง ก็ให้ config ดังนี้

3. Save ไฟล์ แล้ว Restart Apache อีกครั้ง ลองทดสอบโดยเข้าด้วยไอพีของเครื่องที่ติดตั้ง XAMPP ดูครับ
เช่น http://192.168.1.3/phpmyadmin

 

แค่นี้ก็เรียบร้อย 🙂