10 ข้อควรรู้ เขียน PHP ให้ถูกต้องและตรงตามมาตรฐาน

หลายคนที่เขียน PHP อยู่ตอนนี้ รวมถึงตัวผมด้วย อาจยังเขียน php ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานนัก อาจติดมาจากภาษาอื่นๆ หรือเขียนเองคนเดียว ถึงแม้ไม่ errors ทำงานได้ปกติ แต่เมื่อไหร่ที่เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่น ผมว่ามีปัญหาแน่นอน ว่าแล้วก็มาฝึกเขียน PHP ให้ตรงตามมาตรฐานกันดีกว่าครับ

1. ไฟล์ PHP ต้องเปิดด้วยคำสั่ง <?php และ <?= เท่านั้น

2. ไฟล์ต้องมีการเข้ารหัสภาษาเป็น UTF-8 without BOM

3. การตั้งชื่อ Class และ Namespace ควรกำหนดให้เป็น StudlyCaps เช่น ConnectDatabase

4. การตั้งชื่อ Methods ควรกำหนดเป็นรูปแบบเป็น camelCase เช่น goDB()

5. เมื่อมีการเยื้องโค้ดต้องไม่ใช้ tabs แต่ให้เคาะช่องว่าง 4 เคาะ

6. โค้ดต่อ 1 บรรทัดควรไม่เกิน 80 ตัวอักษรหรือน้อยกว่านั้น อย่างมากไม่ควรเกิน 120 ตัวอักษร

7. เวลากำหนด namespace ให้เคาะเว้นบรรทัดเปล่าๆ 1 บรรทัดเสมอ และแน่นอนเมื่อใช้คำสั่ง use ก็เคาะเว้นบรรทัดเปล่า 1 บรรทัดเช่นเดียวกัน

8. เมื่อเขียน methods หรือ functions ต่างๆ เครื่องหมายปีกกาต้องเขียนอยู่ในบรรทัดถัดลงมา และปิดเครื่องหมายปีกกาในบรรทัดต่อไปของตัวเมธอด หรือฟังก์ชันด้วย เช่น

9. Visibility จะต้องถูกกำหนดให้กับทั้งหมดของ properties และ methods และ คีย์เวิร์ด abstract และ final จะต้องถูกกำหนดก่อน visibility ส่วน static นั้น จะต้องถูกกำหนดหลัง visibility ป.ล. visibility คือการกำหนดการเข้าถึงข้อมูลของ class ในส่วนของ properties และ methods ประกอบไปด้วย private , public, protected

10. คำสั่งในกลุ่มของ Control Structures เช่น if,switch,while,do while มีข้อกำหนดดังนี้

10.1 จะต้องเว้นวรรค 1 เคาะ หลังจากเขียนคำสั่งเหล่านี้

10.2 จะต้องไม่มีช่องว่างข้างในเล็บเปิด-ปิด

10.3 จะต้องมีช่องว่างอย่างละ 1 เคาะ ทั้งก่อนและหลังวงเล็บเปิด-ปิด

10.4 ในส่วนโครงสร้างของตัวคำสั่งให้เยื้อง 1 เคาะ

10.5 วงเล็บปีกกาตอนเปิดนั้นจะต้องอยู่บรรทัดเดียวกัน ยกเว้นตอนปิดอยู่คนละบรรทัด เช่น

ใครสนใจศึกษาเพิ่มเติม ศึกษาต่อได้ที่ http://www.php-fig.org/psr/psr-1/

ขอให้สนุกกับการเขียนโปรแกรมทุกวันครับ

3 ข้อแนะนำสำหรับโปรแกรมเมอร์มือใหม่

1. พิมพ์ด้วยมือของคุณเอง เพราะการพิมพ์จะทำให้คุณเกิดทักษะมากขึ้น เมื่อมีทักษะมากขึ้นจะทำให้การเขียนโปรแกรมได้ดีและเร็วขึ้น

2. ข้อความ error เกิดขึ้นได้เสมอและมีสาเหตุ ไม่ใช่อยู่ดีๆมันจะเกิดขึ้นมาเอง ตรวจสอบให้ดีว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ แก้ไขข้อผิดพลาดอย่างมีเหตุผล เมื่อเกิด error 1,000 ครั้ง แสดงว่าคุณรู้วิธีแก้ error ใหม่ๆ เพิ่มอีก 1,000 วิธี

3. อ่านหนังสือหลายๆเล่ม เพราะแต่ละเล่มเขียนจากผู้เขียนคนละคนกัน มีประสบการณ์แตกต่างกัน แม้เรื่องเดียวกันยังมีการยกตัวอย่างไม่เหมือนกัน มันจะทำให้คุณได้ไอเดียใหม่ๆ แนะนำให้อ่านทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

ข้อคิด “ความผิดพลาดของคนส่วนใหญ่ คือ เขาไม่เข้าใจว่าความสำเร็จนั้นเกิดจากการพยายามทีละเล็กทีละน้อย และมันไม่มีทางลัด”

4 แนวทางการเขียนโค้ดให้อ่านง่าย ไม่เป็นภาระของตัวเอง และผู้อื่น

picjumbo.com_HNCK2364 (1)

1. อย่าใช้ตัวย่อกับตัวอักษรทุกอย่างที่เขียน ให้เขียนแบบเต็ม เช่น

ถ้าจะเขียน class เกี่ยวกับการสั่งซื้อ ก็อย่าย่อ ใช้แบบเต็มสื่อความหมายไปเลยครับ เช่น
2. ตัวแปร ตั้งให้สื่อความหมาย
3. ตั้งชื่อ method ให้สื่อความหมายเต็มๆเลยว่ามันเอาไว้ทำอะไรกันแน่
แบบนี้ไม่ควรตั้ง
ตั้งแบบนี้ดีกว่า รู้เลยว่า พารามิเตอร์คืออะไร (เคลียร์)